วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2560

งานเกษตร

งานเกษตร
การปลูกพืช
1.           ความหมายและความสำคัญของการปลูกพืช
1)     ความหมายของการปลูกพืช
การปลูกพืช หมายถึง การนำพันธุ์พืช ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ กิ่งพันธุ์ ต้นกล้าที่ได้จากการเพราะเมล็ด หรือเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช หรือหน่อ หัว ที่มาจากการขยายพันธุ์พืช ไปปลูกลงในดินหือวัสดุปลูกพืชที่เหมาะสม เช่น ดิน กาบมะพร้าว และพืชที่ปลูกดดยทั่วไป มี 2 ประเภท ดังนี้
(1)      พืชสวน เป็นพืชที่ต้องใช้พื้นที่ปลูกมาก ปลูกโดยอาศัยน้ำจากแหล่งธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ซึ่งอยู่ใกล้พื้นที่ปลูก ดินปลูกต้องได้รับการปรับปรุงให้อุดมสมบูรณ์ การปลูกและดูแลบำรุงรักษา ต้องการความระเอียดประณีตมาก พืชสวนเป็นพืชที่มีอายุสั้นและอายุยืน ตั้งแต่ เดือน ถึง 11 ปี ขึ้นไป แบ่งออกเป็นไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ พืชผักทั่วไป และพืชสมุรไพร
(2)      พืชไร่ เป็นพืชที่ต้องใช้พื้นที่ปลูกมากปลูกโดยอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติ และดินปลูกที่ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์มากนัก แต่ถ้าชาวไร่ที่ต้องการลงทุนสูงแจใข้ระบบชลประทานที่ทันสมัย ให้น้ำและปุ๋ยตามความต้องการของพืช ไม่ต้องดูแลมาก เพราะเป็นพืชทีมีอายุสั้น ตั้งแต่ 6-12 เดือน เมื่อให้ผลิตผลแล้วจะตายไป พืชไร่มีหลายชนิด เช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว
2)     ความสำคัญของการปลูกพืช
การปลูกพืชมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตครอบครัว และ อาชีพ ดังนี้
(1)      การปลูกพืชมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตครอบครัว
(1.1)        ก่อให้เกิดผลิตผลที่สามารถนำไปอุปโภคบริโภคได้ เช่น นำผักที่ปลูกในบริเวณบ้านหรือในบริเวณโรงเรียนมาประกอบอาหารรับประทาน นำไม้ดอก ไม้ประดับมาจัดใส่แจกันดอกไม้ ประดับตกแต่งอาหารบ้านเรือน นำพืชสมุนไพรมาสกัดเป็นสารกำจัดแมลงศัตรูพืช
(1.2)        ช่วยลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะค่าอาหาร ซึ่งไม่จำเป็นต้องซื้อ เพราะสามารถปลูกผักไว้บริโภคภายในครัวเรือน จึงทำให้มีเงินเหลือใช้
(1.3)        ช่วยสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ให้แก่ผู้ปลูกในด้านความขยันหมั่นเพียร ความอดทนและประหยัด ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(1.4)        ช่วยสร้างเสริมบรรยากาศให้สวยงาม รื่นร่ม และช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพราะพืชช่วยกรองฝุ่นละออง
(1.5)        ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ปลูกและประชากรในชุมชน ท้องถิ่น และประเทศเพราะเมื่อทุกคนมีรายได้จาการปลูกพืชมากขึ้น ต้องเสียภาษีมากขึ้น ภาครัฐจึงนำเงินมาพัฒนาต่อไป
(2)      ความสำคัญที่มีต่ออาชีพ
(2.1)   ช่วยให้สามชิกในครอบครัว ชุมชน และสังคมมีงานทำและมีรายได้
(2.2)   เกิดอาชีพใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืช ซึ่งสืบเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และความต้องการผลิตภัณฑ์ใหม่ของตลาด เช่น อาชีพปลูกพืชไร้ดิน อาชีพจำหน่ายดินผสม อาชีพออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ปลูกพืชอย่างง่าย ซึ่งใช้เป็นของขวัญของที่ระลึดได้ อาชีพปุ๋ยน้ำชีวภาพ
2.   ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืช
      การปลูกพืชให้เจริญเติบโตและได้ผลผลิตดีนั้น นอกจากจะต้องศึกษาขั้นตอนในการปลูกพืชแต่ละชนิดให้เข้าใจ เพื่อจะได้นำความรู้ไปพัฒนาและแก้ไขปัญหาการปลูกพืชได้เหมาะสมแล้ว ยังต้องศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชต่อไปนี้
1)     ดินและความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ดิน หมายถึง วัตถุที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติจากการสลายตัวของแร่ธาตุและอินทรียวัตถุรวมตัวกันเป็นชั้นๆ ห่อหุ้มทั่วโลก เมื่อมีน้ำและอากาศรวมกันในอัตราที่เหมาะสม พืชจะเจริญเติบโตและมีชีวิตอยู่ได้
(1)    ดินมีหน้าที่และความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนี้
(1.1)        ทำหน้าที่ให้รากพืชได้เกาะยึดเหนี่ยว เพื่อให้ลำต้นของพืชยืนต้นได้อย่างมั่นคง ดินที่ร่วนซุยและมีชั้นดินลึก รากพืชจะเจริญเติบโตแข็งแรง สามารถเกาะยึดดิน ต้านทานต่อลมพายุ
(1.2)        เป็นแหล่งให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ทั้งนี้เนื่องจากธาตุอาหารพืชจะถูกปลดปล่อยออกจากอินทรียวัตุ และแร่ต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของดิน ให้อยู่ในรูปแบบที่รากพืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย
(1.3)        เป็นแหล่งที่เก็บกักน้ำหรือความชื้นในดิน ให้อยู่ในรูปแบบที่รากพืชสามารถดูดเพื่อนำไปหล่อเลี้ยงลำต้นเพื่อการเจริญเติบโต การรดน้ำจนขังแฉะ จะทำมห้รากพืชไม่สามารถดูดน้ำขึ้นไปใช้ประโยชน์ได้ พืชจึงเหี่ยวเฉาและตาย
(1.4)        เป็นแหล่งให้อากาศในดิน ซึ่งรากพืชใช้เพื่อหายใจ รากพืชประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิต ต้องการออกซิเจนสำหรับการหายใจทำให้เกิดพลังงานเพื่อการดึงดูดน้ำ ต้องการธาตุอาหารและการเจริญเติบโต ดินที่มีการถ่ายเทอากาศดี รากพืชจะดูดน้ำและธาตุอาหารได้มาก ต้นพืชจึงเจริญเติบโต แข็งแรงและให้ผลผลิตสูง
(2)     ดินที่มีความอุดมสมบูรณื เหมาะแก่การปลูกพืช ควนมีลักษณะ ดังนี้
(2.1)   มีส่วนประกอบของเนื้อดินที่เป็นของแข็งซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุหรืออนินทรียวัตุ 45% และอินทรียวัตถุที่เกิดจากการผุพังสลายตัวของซากพืชวากสัตว์ทับถมกันอยู่ในดิน 5% รวมกับอากาศ 25% และน้ำ 25%
(2.2)   เป็นดินที่มีสภาพไม่แน่นทึบ มีความโปร่งจึงจะสามารถอุ้มน้ำและปุ๋ยไว้ให้พืชได้ เช่น ดินร่วน ดินร่วนปนดินเหนียว
(2.3)     เป็นดินที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างหรือ ค้า pH 5.5-7.0  ถ้าดินเป็นกรดและเป็นด่างมากเกินไปจะมีผลทำให้พืชเจริญเติบโตได้ไม่ดี และให้ผลผลิตต่ำ การวัดค่า pH ของดินสามารถทำได้โดยใช้เครื่องมือวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่าง(pH meter) หรือใช้ชุดตรวจสอบด้วยน้ำยาเปลี่ยนสี(pH Test kit)
(2.4)   เป็นดินที่มีธาตุอาหารเพียงพอต่อความต้องการของพืช ดังนี้
> ธาตุที่ได้จากน้ำและอากาศ ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน
> ธาตุที่พืชต้องการในปริมาณมาก มีทั้งหมด ธาตุ ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส
โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน โดยทั่วไปแล้ว ดินส่วนมากจะขาดธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เพราะดินผ่านการเพราะปลูกมานาน ทำให้ธาตุเหล่านี้เหลือน้อย หรืออาจมีอยู่มาก แต่อยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้
ธาตุที่พืชต้องการในปริมาณน้อย มีทั้งหมด ธาตุ ได้แก่ แมงกานีส เหล็ก โบรอน สังกะสี ทองแดง คลอรีน และ โมลิบดีนับ ธาตุเหล่านี้ พืชต้องการในปริมาณน้อยแต่ขาดไม่ได้
ในนกรณีที่ดินขาดธาตุอาหารสามารถเพิ่มเติมได้ด้วยการใส่ปุ๋ย ซึ่งโดยทั่วไปมี ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1.      ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ
2.      ปุ๋ยเคมี ซึ่งได้จากการสังเคราะห์ธาตุต่างๆ เวลาใช้ต้องผสมกันให้ได้ธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ที่เหมาะสม
การใส่ปุ๋ยให้พืชมีแนวทาง คือ ใส่ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสมแก่พืชแต่ละชนิดและใส่ปุ๋ยในขณะที่พืชต้องการ เช่น แบ่งใส่ครั้งแรกก่อนปลูก ใส่ขณะที่พืชกำลังเจริญเติบโต และใส่ขณะกำลังให้ผลิตผล
2)    แสงสว่างหรือช่วงแสงในแต่ละวัน
แสงสว่างหรือแสงแดด ช่วงสร้างอาหารให้พืชเพื่อการเจริญเติบโต หากขาดแสง พืชจะแคระแกร็น หรือมีลำต้นสูงชะลูด และจะพยายามเบนลำต้นออกไปหาแสงหากขาดแสงเป็นเวลานานพืชจะตายในที่สุด ทั้งนี้พืชแต่ละชนิดต้องการแสงไม่เท่ากัน บางชนิทต้องการแสงมาก จึงต้องปลูกกลางแจ้ง บางชนิดต้องการแสงรำไร จึงต้องปลุกในที่ร่มรำไร หรือปลูกในสถานที่ที่สามารถพรางแสงได้ นอกจากนี้ พืชต้องการช่วงแสงในการเจริญเติบโตและออกดอก ติดผลต่างกัน เช่น พืชวันสั้น ต้องการช่วงความยาวของแสงในหนึ่งวันติดต่อเป็นเวลาประมาณ ๑๐-๑๔ ชั่วโมง หรือน้อยกว่านี้ จึงจะออกดอกหรือให้ผลิต เช่น เบญจมาศ ดาวกระจาย คริสต์มาส สตรอว์เบอร์รี่ มันเทศ ส่วนพืชวันยาว คือ พืชที่ต้องการช่วงความยาวของแสงในหนึ่งวันติดต่อกันเป็นเวลาประมาณ ๑๔-๑๖ ชั่วโมง หรือมากกว่านี้ จึงจะให้ผลิตผล เช่น ผักกาดหอม แคร์รอต สำหรับในประเทศไทยประมาณเดือนมิถุนายน จะมีความยาวของแสงนานที่สุดในรอบปี
3)   ปริมาณน้ำฝนและแหล่งน้ำธรรมชาติ
การการะจายของน้ำฝนในแต่ละท้องถิ่น มีปริมาณแตกต่างกัน ซึ่งปริมาณของน้ำฝนจะมีผลกระทบต่อการปลูกพืชทุกชนิด โดยเฉพาะพืชที่ต้องการน้ำมากในช่วงระยะกำลังเจริญเติบโต เช่น ข้าว พืชผักชนิดต่างๆ ถ้าขาดน้ำ นอกจากจะไม่เจริญเติบโตแล้ว ยังทำให้ได้ผลิตผลน้อยลงด้วย ดังนั้น การที่พืชแต่ละชนิดจะได้รับน้ำตามปริมาณที่ต้องการหรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนเป็นสำคัญ รวามไปถึงปริมาณน้ำใรแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง ที่สามารถเก็บกักน้ำและนำไปใช้ปลูกพืชได้ตามต้องการ
4)   ลักษณะของอากาศ
อากาศในแต่ละพื้นที่มีระดับอุณหภูมิและความชื้นต่างกัน ซึ่งอุณหภูมิและความชื้นมีอิทธิพลต่อการปลูกพืชเช่นกัน โดยเฉพาะอุณหภูมิเป็นตัวการสำคัญที่ควบคุมขบวนการต่างๆ ภายในต้นพืช เช่น ขบวนการหายใจ คายน้ำ สังเคราะห์แสง ส่วนความชื้นหรือไอน้ำที่ลอยอยู่ในอากาศจะมีความสำคัญและจำเป็นต่อพืชหลายชนิด เช่น ผักกาดชนิดต่างๆ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก แคร์รอตไม้ดอกบางชนิด โดยเฉพาะไม้ดอกเมืองหนาว เช่น พิทูเนีย คริสต์มาส กุหลาบ ต้องการลักษณะอากาศหนาวเย็นจึงจะให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี
ส่วนพืชไร่ เช่น ข้าวฟ่าง อ้อย มันสำปะหลัง ต้องการความชื้นในอากาศน้อย พืชดังกล่าวจึงเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี
การควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างเหมาะสม จะช่วยให้พืชแข็งแรงให้ผลผลิตผลมาก และผลิตผลมีคุณภาพดี
การปลูกพืชให้เจริญเติบโตและให้ผลิตผลน้ำทำได้หลายวิธี เช่น การปลูกพืชในดิน ปลุกพืชไร้ดิน นอกจากนี้  การปลูกพืชในดินยังได้ทั้งในแปลง การถาง หรือภาชนะอื่นๆ ปลูกในนาปลูกในสวน ปลูกในไร่ ริมรั้ว
1.           การใช้เทคโนโลยีในการปลูกพืช
   การปลูกพืชในปัจจุบันเจริญก้าวหน้าไปมาก เนื่องจากมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการปลูกพืช ด้านวิธีการ วัสดุ อุปกรณ์เครื่องจักรและ  ผลิตภัณฑ์ทางเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้บริโภคได้อย่างปลอดภัย ช่วยประหยัดแรงคน
     การใช้เทคโนโลยีในการปลูกพืชที่ได้รับความนิยม มีดังนี้
1)     การปลูกพืชไร้ดิน
(1)    ประวัติความเป็นมา การปลูกพืชไร้ดิน
เป็นผลสืบเนื่องจากปัจจัยหลายอย่างโดยเฉพาะผลิตผลที่ปลอดสารพิษ ความต้องการพืชสดที่สะอาดและอุดมวิตามิน ความสะอาด ในประเทศไทยมีการปลูกพืชไร้ดินทั้งในเชิงสาธิตแบบท่องเที่ยว ทดลองและทำธุรกิจโดยภาครัฐและเอกชน ซึ่งเปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชมและศึกษา
(2)    ประเภทของการปลูกพืชไร้ดิน
                  การปลูกไร้ดินแบ่งเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
(2.1) การปลูกพืชในสารละลาย  คือการปลูกพืชโดยให้รากพืชแช่ อยู่ใน      น้ำสารละลายธาตุอาหารโดยตรง ซึ่งมีหลายรูปแบบ ดังนี้
       การปลูกพืชโดยให้รากพืชแช่อยู่ ในรางแบน ๆ ที่มีความลาดเอียงร้อยละ ๑-๓ มีสารละลายธาตุอาหารพืชไหลผ่านเป็นชั้นแผ่น ผิวบางๆ ตามช่วงเวลาที่กำหนดเพื่อช่วยให้รากพืชได้รับความชื้น
       การปลูกพืชโดยให้รากพืชแช่อยู่ในกระบะน้ำสารละลายธาตุอาหารที่ระดับความลึก ประมาณ๒-๑๕ เซนติเมตร
         การปลูกพืชที่มีรูปแบบผสม โดยให้รากพืชแช่อยู่ในรางน้ำสารละลายธาตุอาหารที่ไหลผ่านอย่างช้าและต่อเนื่อง โดยมีระดับความสูงของน้ำในรางมากขึ้น
(2.2) การปลูกพืชในวัสดุปลูก  คือ การปลูกพืชลงในวัสดุปลูกชนิดอื่นที่ไม่ใช่ดิน ได้แก่ วัสดุ อินทรีย์สาร เช่น ชานอ้อยขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว
วัสดุอนินทรียสาร เช่น ทราย หิน กรวด เม็ดดินเผา และวัสดุสังเคราะห์
เม็ดโฟม ฟองน้ำ
(3)    ความสำคัญของการปลูกพืชไร้ดินแบบไฮโดรพอนิกส์
                   การปลูกพืชในดินมักประสบปัญหาหลายอย่าง เช่น ดินมีสภาพไม่ เหมาะสมต่อการปลูกพืช เกิดโรคระบาดและมีแมลง ส่งผลให้เกษตรกร ต้องใช้สารเคมีฉีดเพื่อกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชเหล่านี้ ดินจึงมีสภาพพิษตกค้างสะสมและเสื่อมโทรม โดยเหตุนี้ จึงพัฒนาปรับปรุงวิธีการปลูกพืชไร้ดินแบบไฮโดรพอนิกส์ขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกของเกษตรกรในการแก้ปัญหา
(4)   วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกพืชไร้ดินแบบไฮโดรพอนิกส์ในระบบการปลูก
(4.1) สารละลายธาตุอาหารพืช ที่จะนำมาใช้กับการปลูกพืชไร้ดินแบบไฮโดรพอนิกส์ มีอยู่หลายสูตรแต่ต้องส่วนผสมของธาตุอาหาร (สารเคมีหรือปุ๋ย)  ครบถ้วน ๑๓ ธาตุ พืชจึงจะได้จากน้ำและอากาศ และจะพิจารณาปริมาณของที่จะให้จากชนิดของพืชที่ปลูก ฤดูปลูก แสง อุณหภูมิขณะปลูก สถานที่ปลูก และวัตถุประสงค์ ของการปลูกร่วมด้วย
ในปัจจุบันมีสารละลายธาตุอาหารพืชสำเร็จรูป วางจำหน่ายให้สามารถซื้อมาให้ได้สะดวก ซึ่งในหน่วยการเรียนรู้นี้ได้กำหนดให้นักเรียนใช้สารสารละลาย และ B และหากต้องเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืช
ด้วยตนเองจะต้องมีความรู้และประสบการณ์ในการใช้เครื่องมือชั่งตวงสารละลาย
(4.2)  วัสดุรองรับต้นพืช ใช้เพื่อให้พืชทรงตัวอยู่ได้ เช่นแผ่นโฟม ฟองน้ำ ที่เจาะรูเชือกสำหรับยึดพืชบางชนิด
(4.3) ระบบรางปลูก ประกอบด้วยโต๊ะวางรางท่อส่งสารละลายธาตุอาหารพืช รางปลูกถังใส่สารละลายธาตุอาหารพืช และปั๊มสูบน้ำ
(4.4) ปั๊มอากาศ ใช้ในการทำให้เกิดไหลเวียนของสารละลายธาตุอาหารพืชและให้ออกซิเจนแก่รากพืช
(4.5) อุปกรณ์ตรวจวัดสารละลาย เช่น เครื่องมือตรวจค่าความเป็นกรดเป็นต่าง เครื่องมือตรวจวัดค่าการไฟฟ้า

(5)   ช่องทางการปลูกพืชไร้ดินเพื่อจำหน่าย
ช่องทางการปลูกพืชไร้ดินเพื่อการค้าหรือจำหน่าย จะต้องคำนึงต้องการของตลาด ได้แก่ กลุ่มลูกค้าที่ต้องการพืชผักปลอดสารพิษ โดยมากเป็นกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงระดับสูงซึ่งมีกำลังซื้อมากลูกค้าเหล่านี้เป็นผู้บริโภคอาหารที่คำนึงถึงสุขภาพเป็นสำคัญ จึงไม่คำนึงถึงราคาที่แพงกว่าพืชผักทั่วไป ตลาดจำหน่ายจะมีอยู่ตามศูนย์การค้าหรือแหล่งที่ลูกค้าเชื่อถือว่า เป็นพืชผักปลอดสารพิษ
การขยายพันธุ์พืช
1.            ความหมายและความสำคัญของการขยายพันธุ์พืช
1)    ความหมายของการขยายพันธุ์พืช
                        การขยายพันธุ์พืช หมายถึง การเพิ่มหรือการทวีจำนวนต้นพืชจากที่มีอยู่แล้ว ให้มีจำนวนหรือปริมาณมากขึ้น โดยยังคงรักษาสภาพเดิมหรือทำให้ดีกว่าเดิม โดยเฉพาะด้านคุณสมบัติ และคุณภาพของพืชแต่ละชนิดที่นำไปขยายพันธุ์
2)    ความสำคัญของการขยายพันธุ์พืช
                        การขยายพันธุ์พืชมีความสำคํญหลายประการ ดังนี้
(1)     ก่อให้เกิดงานอาชีพขยายพันธุ์พืชและงานที่เกี่ยวข้องกับงานขยายพันธุ์พืช เช่น อาชีพรับจ้างตอนกิ่ง ตัดชำ ทาบกิ่ง ผลิตดินผสมปลูกพืช ผลิตปุ๋ยธรรมชาติ โดยใช้วัสดุเหลือใช้ในห้องถิ่น อาชีพผลิตวัสดุขยายพันธุ์พืช
(2)     ช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง โดยเฉพาะชาวสวนที่ปลูกพืชชนิดต่างๆ ไม่จำเป็นไปสียเงินชื่อพันธ์พืชไม้จากที่อื่น เนื่องจากตนเองสามารถเพราะขยายพันธุ์พืชำหรับใช้ในสวนของตนเองได้อยุ่แล้ว
(3)    ก่อให้เกิดความสามารถในการผลิตพันธุ์ไม้ที่แปลกใหม่ ทำให้มีมูลค่าที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการผลิตไม้แฟนซี ซึ่งเป็ฌนการผลิตพันธุ์ให้มีหลายพันธุ์ในต้นเดียวกัน
(4)    ช่วยให้เกิดแนวคิดในการใช้เคโนโลยีพัฒนาพันธุ์พืช เช่น การขยายพันธุ์พืชโดยการเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ทำให้ได้พันธุ์ไม้ที่มีคุณภาพ
2.            ประเภทและวิธีการขยายพันธุ์พืช
การขยายพันธุ์พืช โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น2ประเภท ได้แก่
1)    การขยายพันธุ์พืชแบบอาศัยเพศ เป็นการผสมพันธุ์ระหว่างเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ทำให้เกิดเป็นเมล็ด เมือนำไปเพราะจะเกิดเป็นพืชต้นใหม่
2)    การขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ เป็นการขยายพันธุ์พืชโดยการนำเอาส่วยต่างๆ ของพืช เช้น ลำต้น ใบ ราก หน่อ ไปขยายพันธุ์โดยอาจจะใช้วิธีการตอนกิ่ง ตัดชำกิ่ง ต่อกิ่งหรือเสียบยอ ทำให้เกิดต้นใหม่ที่มีคุณภาพดีกว่าเดิม
การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ มีดังนี้
(1)   การแบ่งและแยก เป็นวิธีการขยายพืโดยใช้ส่วนหัว แง่ง เหง้าของพืชที่มีลำต้นใต้ดินไปเพราะชำให้เกิดเปฌนต้นใหม่
·    การแบ่ง หม่ายถึง การตัดแบ่งส่วนของพืข โดยเฉพาะรากและลำต้นของพืชที่มีลักษณะพิเศษออกเป็นส่วนๆ
·    การแยก หมายถึง การแยกส่วนของพืชออกตามธรรมชาติโดยใช้มือ แล้วนำไปปลูกต่อไป
(2)   การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
                        (2.1) ประวัติและความเป็นมาของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
                                   ใน ค.. 1902 นำวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน คือ ฮาร์เบอร์แลนด์ เป็นคนแรกที่นำเนื้อเยื่อพืชมาเลี้ยง เพื่อใช้ในการศึกษาคุณสมบัติของพืช แต่ก็ยังไม่สำเร็จต่อมา ชไลเดน และ ชวานน์ ได้ประกาศทฤษฏีเซลล์ และเสนอข้อคิดเห็นที่ก่อให้เกิดการพัฒนาการเพาะเลี้นงเยื้อเยื่อพืช แต่ถูกใช้ในงานเกี่ยวกับพฤษศาสตร์พื้นฐานเท่านั้น ใน ค..1960 โมเรล เป็นคนแรกที่ได้นำเทคนิคการเพาะเยื้อเยื่อมาใช้ขยายพันธุ์พืช และประสบความสำเร็จ
                          (2.2) ความหมายของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
                                   การเพาะเลี้ยงเนื่อเยื่อ เป้นการขยายพันธุ์พืชวิธีหนึ่งโดยใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เช่น ยอดอ่อน ตา ใล ราก ไปเพาะเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ซึ่งเป็นหารพืชที่ประกอบด้วยแร่ธาตุน้ำตาล ควบคุมการเจริญเติบโตของพืชในสภาพแวดล้อมที่ควบคุมได้
                          (2.3) ความสำคัญของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
·       ใช้พื้นที่ขยายพันธุ์น้อย แต่ได้ปริมาณพืชมาก 
·       ทำให้การบริหารจัดการทั้งในการวางแผน การผลิตพันธุ์พืชและการจัดจำหน่ายได้อย่างมีคุณภาพ
·        ได้พืชที่ที่มีความสม่ำเสมอในด้านพันธุ์กรรมและความสมบูรณ์ของลำต้นทำให้สะดวกต่อการผลิตพืช
·       ได้พันธุ์พืชที่เจริญเติบโตเร็วเหมือนกับการเพาะด้วยเมล็ด ต้นกล้าแข็งแรงและมีทรงพุ่มสวยงาม
                          (2.4) วัสดุ อุปกรณ์ทั่วไปที่ใช้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ มีดังนี้
·      อุปกรณ์เครื่องแก้ว เช่น จานเพราะเชื้อ บีกเกอร์ กระบอกตวงแก้ว
·      อุปกรณ์อื่นๆ ได้แก่ มีดผ่าตัด กรรไกร ปากคีบปลาบแหลม ปากคีมปลาบโค้ง ตะเกียงแอลกอฮอล์ เครื่องมือทดสอบความกรดด่าง
                          (2.5) อาหารสำหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ อาหารที่ใช้เพาะลี้ยงเนื้อเยื่อมีดังนี้
·      ธาตุอาหารอนินทรีย์ ประกอบด้วย
·      ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน
·      ธาตุอาหารรอง ได้แก่ โบรอน โคลอลต์ ทองแดง โอดีน เหล็ก แมงกานิส โมลิบดีนัม สังกะสี
·      วิตามิน ได้แก่ ไมโอ-อิโน ซิทอล กรดนิโคทินิก ไทอะมีน
·      สารควบคุมการเจริญเติบโต หรือฮ
การเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์
1.      ความหมายและความสำคัญของการเลี้ยงสัตว์เชิงพาณชย์
1)     ความหมายของการเลี้ยงสัตว์เชิฃพาณิชย์
      การเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์ หมายถึง การเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหนายตามความต้องการของตลาดหรือผู้ซื้อ โดยผู้ที่จะเลี้ยงต้องสำรวจความต้องการของตลาดหรือผู้ซื้อว่านิยมบริโภคหรือซื้อเนื้อสัตว์ชนิดใดบ้าง  จากนั้นสำรวจตนเองว่ามีความรู้ความสามารถประสบการณ์และทักษะในการเลี้ยงสัตว์ดังกล่าวหรือไม่ ถ้ามีเพียงพอแล้วจึงดำเนินการงาวแผนปฎิบัติงานต่อแต่หากไม่มีต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมก่อนลงมือเลี้ยงจริง
           นอกจากนี้ผู้เลี้ยงยังต้องมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ การตลาดและการจัดจำหน่ายเพื่อให้การเลี้ยงสัตว์มีกำไรและไม่ขาดทุน
2)     ความศำคัญของการเลี้ยงสัตว์พาณิชย์
            การเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์มีความสำคัญหลายด้าน ดังนี้
(1)     ด้านการดำรงชีวิตและครอบครัว
·  เลี้ยงรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลินในการเลี้ยงสัตว์มีโอกาสศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสัตว์ที่เลี้ยง ปลูกฝังลักษณนะนิสัยที่ดีให้แก่ผู้เลี้ยงในด้านความรับผิดชอบต่อสัตว์ที่เลี้ยง    ความอดทนต่อการดูแลสัตว์ที่เลี้ยฃจนได้ผลิตผลที่มีคุณภาพและความซอสัตว์ต่อลูกค้าที่ซื้อสัตว์เลี้ยงของตนเองโดยคัดเลือกแต่ผลิตผลที่มีคุณภาพจำหน่ายให้แก่ลูกค้า
·  ผู้เลี้ยงและสมาชิกในครอบครัวดำรฃชีวิตอยู่อย่างพอเพียงเพราะมีสัตว์ที่เลี้ยงเป็นอาหารสำหรับบริโภคภายในครัวเรือน และสามารถ นำไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง
· คุณภาพชีวิตของผู้เลี้ยงและสมาชิกและสมาชิดในครอบครัวดีขึ้น เพราะนำรายได้จากการเลี้ยงสัตว์ดพื่อจำหน่ายมาใช้จ่ายซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกในครอบครัว
(2)     ด้านอาชีพ
ก่อให้เกิดการจ้างงานขึ้นในชุมชนหรือท้องถิ่น ทำให้คนในท้องถิ่นมีงานทำอย่างสุจริตและไม่เป็นภาระต่อครอบครัว
·  ก่อให้เกิดงานอาชีพที่เกี่ยวข้องหลากหลายชนิด เช่น อาชีพสัตว์แพทย์อาชีพรับจ้างตอนไก่ อาชีพรีบจ้างฉีดวัตซีนสัตว์ อาชีพจำหน่ายปุ๋ยคอกอาชีพจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์หรือเครื่องมือเลี้ยงสัตว์ อาชีพจำหน่ายอาหารสัตว์และยารักษาโรคสัตว์ อาชีพรับจ้างเลี่ยงสัตว์ อาชีพผลิตอาหารสัตว์ อาชีพประดิษฐ์สิ่งชองเครื่องใช้จากซากสัตว์
·  ก่อให้เกิดการพัฒนางานอาชีพเลี้ยฃสัตว์โดยใช้เทคดนโลยี เพิ่มผลผลิตเช่น การเลี้ยงไก่ระบบปิด ซึ่งเป็นระบบซึ่งเป็นระบบเลี้ยงไก่ภายในโรงเรียนที่สามารถคงบคุมอุณหภูมิหรือสภาพอากาศได้ และให้อาหารที่เกมาะสมกับความต้องการของไก่
2.      คุณลักษณะทั่วไปของผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์
         ผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์ ควรมีคุณลักษณะ ดังนี้
1)      มีพื้นฐานคสามรู้เกี่ยวกับงานธรุกิรการค้า สามารถทำบัญชีค่าใช้จ่าย กำหนดราคาขายและจัดจำหน่าย
2)      มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจและให้บริการแก่ลูกค้าทุกคนด้วยความสุภาพ เรียบร้อย และ ต้องเป็นผ็ที่มีมนุษยสัมพันธ์ สามารถปะสานงานกับบุคลอื่นได้ดี
3)       มีความอดทน ขยันมั่นเพียร เพราะการเลี้ยงสัตว์คอยดูแลเอาใจใส่สัตว์ที่เลี้ยงอยู่เสมอและต้อฃรอคอยเพื่อให้รับผลิตผลตอบแทน
4)      มีทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงสัตว์ โดยไม่ถือว่างานเลี้ยงสัตวฺเป็นงานดอยคุณค่า ตรงกันข้าม ควรคิดว่างานเลี้ยงสัตว์จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ อยู่เสมอ เช่น อินเทอร์เน็ต หนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ การศึกษาดูงานตามฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การพูดคุยสอบถามผู้รู้หรือนักวิชาการเลี้ยงสัตว์
3.      แนวทางการเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์
ในอดีตการเลี้ยงสัตว์มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลิตผลมาบริโภคในครัวเรือน เท่านั่น ต่อมาเมื่อมนุษย์มีความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มมากขึ้น จึงได้มีการพัฒนาการเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภค    มาเป็นการเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่ายหรือการเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์ ซึ่ฃมีผลตอบแทนเป้นรายได้หรือกำไร ที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน
      1)      สิ่งที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์
การเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์มีข้อควรพิจารณาก่อนลงมือเลี้ยง ได้ แก่ สำรวจความต้องการของตลาดและความนิยมของผู้บริโภค ประโยชน์และความสำคัญของสัตว์ที่จะเลี้ยง การจัดหาพันุ์สัตว์คอกสัตว์ หรือโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ที่มีอยู่แล้วหรือต้องสร้างใหม่ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้เลี้ยง แหล่งที่มา ของการอาหารสัตว์ การเลี้ยงดู ปฎิบัติ บำรุงรักษา จะทำอย่างไรบ้าง สัตว์จึงจะเจริญเติบโตดี และสามรถจำหน่ายได้ วิธีการป้องกันรักษาสัตว์ให้ปลอดภัยจากศัตรู การจกบันทึกค่าใช้จ่ายและจัดจำหน่าย
2)      การเลี้ยงไก่พื้นเมืองเชิงพาณิชย์
      ไก่พื้นเมืองเป็นไก่ที่ตลาดต้องการอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล เช่น ตรุษจีน จะมีราคาสูงมากการเลี้ยงไก่พื้นเมืองในชนบทนิยมใช้วิธีการเลี้ยงแบบปล่อยให้อาหารกินเองและอาศัยอย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล เนื่องจากผู้เลี้ยงต้องการเลี้ยงไก่ไว้เพื่อเป็นอาหารสำหรับบริโภคในครัวเรือน และให้ไก่กินเศษอาหารกินเองตามเรือกสวนไร่นา แต่ในหน่วยการเรียนรู้นี้จะขอรำเสนอแนวทางการเลี้ยงไก่พื้นเมืองในเล้า ซึ่งสามารถดูแลจัดการให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล ได้ง่ายและเหมาะที่จะเลี้ยง เพื่อสร้างรายได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี
(1)     ประโยชน์ของไก่พื้นเมือง
ไก่พื้นเมืองมีประโยชน์ด้านการดำรงชีวิตประจำวันและอาชีพ ดังนี้
(1.1) ได้อาหารบริโภคในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเนื้อและไข่ สร้างเสริมร่างกายให้แข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว และช่วยบำรุงสมองให้มีสติปัญญาดีและเฉลียวฉลาด
                        (1.2) สามารถใช้เศษอาหารและพืชผักต่างๆ ในครัวเรือนเลี้ยงได้
                        (1.3) สร้างรายได้ที่ดีจากการจำหน่ายเป็นอาชีพ
                        (1.4) ช่วยเพิ่มพูนรายได้จากการจำหน่ายมูลไก่ เพื่อใช้เป็นปุ๋ยคอกบำรุงดิน
(2)     คุณสมบัติที่ดีของไก่พื้นเมือง
             ไก่พื้นเมืองที่ดีควรเลี้ยงง่าย ไม่ต้องเสียเวลาเลี้ยงดูมาก รสชาติอร่อย เนื้อแน่น มีไขมันน้อย จำหน่ายได้ราคาดีทั้งตัวผู้และตัวเมีย สามารถฟักไข่และเลี้ยงดูลูกเอง ในปีหนึ่งแม่ไก่จะออกไข่อย่างน้อย ๔ – ๕ รุ่น รุ่นหนึ่งจะฟักออกประมาณ ๗ – ๑๐ ฟอง ปรับตัวต่อสภาพท้องถิ่นและทนทานต่อโรคต่าง ๆ ได้ดี
(3)    การจัดหาพันธุ์ไก่และการเริ่มต้นเลี้ยง
                        สิ่งสำคัญที่สุดของการเริ่มกิจการ คือ ควรเริ่มต้นเลี้ยงไก่จากจำนวนน้อยแล้วเพิ่มจำนวนให้มากขึ้นและจัดหาคัดเลือกพันธุ์ไก่ เพื่อสร้างเสริมทักษะและประสบการณ์ ดังนี้
                        (3.1) เลือกซื้อไก่ไว้ทำพันธุ์ โดยคัดเลือกไก่ที่มีรูปร่างแข็งแรงและสมบูรณ์
                        (3.2) เลือกพ่อพันธุ์ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ ๒.๕ กิโลกรัม อายุตั้งแต่ ๙ เดือน แต่ไม่เกิน ๓ ปี แม่พันธุ์มีอายุตั้งแต่ ๗ เดือน มีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า ๑.๕ กิโลกรัม
                        (3.3) ซื้อไก่รุ่นมาเลี้ยง แต่ราคาและการลงทุนค่อนข้างสูง
                        (3.4) ซื้อลูกไก่มาเลี้ยง ราคาถูก แต่ใช้เวลาเลี้ยงนาน
                        (3.5) ซื้อไข่ไก่ที่มีเชื้อมาฟักเอง อาจใช้เครื่องฟักหรือฝึกให้แม่ไก่ฟักเอง
(4)     การเตรียมสถานที่และเล้าไก่
                        สัตว์เลี้ยงทุกชนิดต้องการสถานที่อยู่อาศัยเช่นเดียวกับคนเรา ดังนั้น จึงต้องจัดเตรียมสถานที่สำหรับสร้างเล้าไก่ ซึ่งควรเป็นบริเวณที่ไม่ห่างไกลบ้านมากนัก สามารถดูแลได้สะดวก ป้องกันขโมยได้ ควรเป็นพื้นที่ดอน น้ำไม่ท่วมขัง และไม่ควรอยู่ใกล้ต้นไม้ หากอยู่ใกล้ต้นไม้จะทำให้ไก่บินขึ้นไปนอนได้ สำหรับเล้าไก่ควรทำหลังคาป้องกันแดดและฝน โดยอาจใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น มุงด้วยหลังคาจาก และด้านข้างเล้ากรุด้วยไม้ไผ่พร้อมด้วยตาข่ายป้องกันศัตรูต่างๆ เช่น งู หนู ขนาดของเล้าขึ้นอยู่กับจำนวนที่เลี้ยง ถ้าต้องการเลี้ยงประมาณ ๓๐ - ๔๐ ตัว ควรใช้เล้าขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๔ เมตร สูง ๒ เมตร และไม่ควรทำเล้าไก่ไว้ใต้ถุนบ้าน เพราะนอกจากจะมีกลิ่นเหม็นแล้วอาจทำให้ตัวไรไก่ขึ้นสู่บ้านเรือนได้ นอกจากนี้พื้นเล้าควรใช้วัสดุปูพื้นด้วยแกลบหรือขี้เลื่อย และต้องเปลี่ยนวัสดุรองพื้นทุก ๓ เดือน
(5)     การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในเล้า ดังนี้
·       คอนนอน สำหรับให้ไก่เกาะนอน
·       ม่านป้องกันฝน สำหรับป้องกันแสงแดดและฝนสาดด้านข้าง อาจใช้ผ้าใบ
กระสอบตาข่ายพรางแสงชนิดทึบ ๑๐๐%
·       รางน้ำหรือกระปุกน้ำ สำหรับให้ไก่กินน้ำต้องสะอาดตลอดเวลา รางน้ำอาจทำ
ด้วยพลาสติก ไม้ไผ่ผ่าซีก หรือวัสดุในท้องถิ่นที่หาได้ง่ายและเหมาะสม
·       รางอาหาร หรือถังอาหารสำหรับให้ไก่ ซึ่งไม่ควรให้ไก่จิกกินบนพื้นดิน โดยไม่
มีรางอาหาร เพราะไก่อาจเป็นโรคพยาธิได้ง่าย
·       รังไข่ สำหรับให้แม่ไก่ไข่เป็นที่เป็นทาง ทำให้เก็บไข่ได้สะดวก พื้นรังไข่ ควรปู
ด้วยฟางแห้ง ตั้งอยู่ในที่ป้องกันแดดและฝนได้ ไม่ร้อนเกินไป และให้แม่ไก่เข้าออกได้สะดวก
(6)      การให้อาหารและน้ำ
                        อาหาร เพื่อการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองที่หาได้จากท้องถิ่น มีดังนี้
·       อาหารประเภทโปรตีน ได้จากแมลง ปลวก หนอน ไส้เดือน ปลาป่น เพื่อสร้าง
เนื้อ หนัง ขน เล็บ และเลือด
·       อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ได้จากรำข้าว ปลายข้าว ข้าวโพด กากมัน
สำปะหลัง เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย และพลังงานการเคลื่อนไหว
·       อาหารประเภทไขมัน ได้จากกากถั่วเหลือง กากมะพร้าว ไขมันสัตว์ กากงา เมล็ด
ถั่วชนิดต่างๆ ช่วยให้พลังงานและความอบอุ่น
·       อาหารประเภทแร่ธาตุ ได้จากเปลือกหอยป่น กระดูกป่น เพื่อช่วยสร้างเสริม
กระดูกและเปลือกไข่
·       อาหารประเภทวิตามิน ได้จากหญ้าสด ข้าวโพด ใบกระถิน รำข้าว พืชผักชนิด
ต่างๆ เพื่อใช้เป็นสารอาหารช่วยสร้างเสริมความแข็งแรงและต้านทานโรค
น้ำ เป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ ช่วยในการดูดซึมและย่อยอาหาร
การให้อาหารและน้ำแก่ไก่พื้นเมือง ผู้เลี้ยงต้องเอาใจใส่ให้มาก ไม่ปล่อยให้ไก่หาอาหาร
และน้ำกินเองตามธรรมชาติ เพราะอาหารและน้ำที่ได้อาจไม่เพียงพอโดยมีแนวปฏิบัติ ดังนี้
·       จัดหาอาหารผสมหรือใช้หัวอาหารไก่สำเร็จรูป ผสมในรำข้าวหรือปลายข้าวให้
ไก่กินทุกเช้า – เย็น เพิ่มเติมจากอาหารที่ไก่หากินเองตามปกติ และให้อาหารไก่หลายอย่างผสมกัน เช่น ข้าวโพดป่น ข้าวเปลือก กากถั่ว
·       จัดหาน้ำสะอาดตั้งไว้ให้ไก่กินตลอดเวลาที่ต้องการ และเปลี่ยนน้ำทุกวัน
·       จัดหาเปลือกหอยป่นผสมเกลือป่น หญ้าสด ใบกระถินหรือผักบุ้งสด ตั้งไว้ให้ไก่
กินตลอดเวลา
·       จัดหาอาหารให้อย่างเพียงพอ ถ้าไก่อิ่มแล้วจะกินอาหารช้าลง และจะคุ้ยเขี่ยเล่น.
(7)      การป้องกันรักษาโรคและพยาธิที่มักเกิดกับไก่พื้นเมืองโรคและพยาธิที่พบมากในไก่พื้นเมือง มีดังนี้
·       โรค ได้แก่ โรคนิวคาสเซิล โรคฝีดาษ โรคอหิวาต์ และโรคหลอดลมอักเสบ
·       พยาธิภายนอก ได้แก่ ไร และหมัด
·       พยาธิภายใน ได้แก่ พยาธิไส้เดือน พยาธิตัวแบน และพยาธินัยน์ตาไก่
ทั้งนี้ ผู้เลี้ยงจะต้องหมั่นคอยสังเกตและตรวจสอบตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงเลี้ยง
ลูกไก่ จะต้องทำการปลูกฝี ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอย่างสม่ำเสมอ และระบบการสุขาภิบาลที่ดีเพื่อป้องกันและควบคุมโรคและพยาธิอย่างต่อเนื่อง
(8)      การสุขาภิบาล เป็นการป้องกันและจำกัดเชื้อโรคบริเวรสถานที่เลี้ยงและภายในเล้าไก่ให้สะอาดถูกสุขลักษณะโดยมีแนวปฏิบัติ ดังนี้
·       ทำความสะอาดเล้าและภาชนะ อุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
·       อย่าปล่อยให้เล้าชื้นแฉะ เพราะจะเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรค
·       พยายามอย่าให้บริเวณเล้าอับทึบ ควรจัดระบบอากาศให้ถ่ายเทได้สะดวกและ
จำกัดแหล่งน้ำสกปรกรอบบริเวณเล้า
·       ให้อาหารและน้ำมีคุณภาพดีและสะอาดอยู่เสมอ เศษอาหารที่ไก่กินไม่หมดให้
กวาดออกไปอย่าปล่อยให้เน่าเปื่อย
·       หมั่นสังเกตไก่ ถ้าเริ่มป่วยควรแยกออกทันที หรือจำกัดออกไป โดยการฝังหรือ
ทำลาย อย่าทิ้งลงในแม่น้ำลำคลองเป็นอันขาด เพราะจะทำให้เชื้อโรคแพร่ระบาดได้
(9)      การจัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย และจัดจำหน่าย เป็นระบบการปฏิบัติงานที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเลี้ยงไก่เชิงพาณิชย์หรือเพื่อการค้า เพราะทำให้ทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน หากการดำเนินงานได้ผลดี มีกำไร จะสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้ประกอบการ เพื่อที่จะมุมานะขยายกิจการต่อไป หรือหากขาดทุน จะทำให้ทราบสาเหตุ และหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป
            การจัดบัญชีรายรับ – รายจ่าย เป็นการจัดบันทึกข้อมูลด้านการเงินอย่างง่าย คือ ทำให้ทราบว่าต้นทุนการผลิต (รายจ่าย) และรายรับที่ได้จากการจำหน่ายเป็นอย่างไร จึงควรจัดหาสมุดบันทึก ๒ เล่ม แบ่งเป็นสมุดรายจ่าย ๑ เล่ม และรายรับ ๑ เล่ม 


ข้อมูลอ้างอิง : หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม4-ม6 พว.





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น